วันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ความหมายของวัฒนธรรม


   

               วัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิตหรือการดำเนินชีวิตของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง  หมายรวมถึงความคิด  ศิลปะ วรรณคดี  ดนตรี  ปรัชญา  ศีลธรรม  จรรยา  ภาษา  กฎหมาย  ความเชื่อ  ขนบธรรมเนียมประเพณีและสิ่งต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้น  การถ่ายทอดให้กับคนรุ่นต่อๆมา การเรียนรู้จากคนกลุ่มหนึ่งไปยังคนอีกกลุ่มหนึ่ง  ถ้าสิ่งใดดีก็เก็บไว้  สิ่งใดควรแก้ให้ดีขึ้น  เพื่อจะได้ส่งเสริม ให้มีลักษณะที่ดีประจำชาติต่อไป  ในลักษณะนี้วัฒนธรรมจึงเป็นการแสดงออกซึ่งความเจริญงอกงาม  ความเป็นระเบียบเรียบร้อย  และศีลธรรมอันดีงามของประชาชน

สรุปแล้ว  วัฒนธรรมคือการดำเนินชีวิตของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่แสดงออกถึงความเจริญงอกงาม  ความเป็นระเบียบเรียบร้อย  ความกลมเกลียว  ความก้าวหน้า  และศีลธรรมของประชาชน





ที่มาของวัฒนธรรมไทย

วัฒนธรรมไทยมีที่มาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

-สิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ เนื่องจากสังคมไทยมีลักษณะทางด้านภูมิศาสตร์เป็นที่ราบลุ่มและอุดมสมบูรณ์ด้วยแม่น้ำลำคลอง คนไทยได้ใช้น้ำในแม่น้ำ ลำคลอง ในการเกษตรกรรมและการอาบ กิน เมื่อถึงเวลาหน้าน้ำ ซึ่งอยู่ในเวลาปลายเดือนตุลาคมและปลายเดือนพฤศจิกายน คนไทยจึงทำกระทงพร้อม ด้วยธูปเทียนไปลอย ในแม่น้ำลำคลอง เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษแม่คงคา และขอพรจากแม่คงคา เพราะได้อาศัยน้ำกิน น้ำใช้ ทำให้เกิด “ประเพณีลอยกระทง”   นอกจากนั้นยังมีประเพณีอื่น ๆ  อีกในส่วนที่เกี่ยวกับ แม่น้ำลำคลอง  เช่น     “ประเพณีแข่งเรือ”




-ระบบการเกษตรกรรม สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ประชากรร้อยละ 80 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และระบบการเกษตรกรรมนี้เอง ได้เป็น ที่มาของวัฒนธรรมไทย เช่น ประเพณีขอฝน ประเพณีลงแขก




-ค่านิยม มีความเกี่ยวพันกับ วัฒนธรรมอย่างใกล้ชิด และ “ค่านิยม” บางอย่างกลายมาเป็น “แกน” ของวัฒนธรรมไทย วิถีชีวิตของคนไทยโดยส่วนรวมมีเอกลักษณ์ซึ่งแสดงออกถึงอิสรภาพและเสรีภาพ

-การเผยแพร่ทางวัฒนธรรม วัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากวัฒนธรรมทางสังคมอื่น ๆเพราะวัฒนธรรมไม่ได้เกิดขึ้นมาเอง แต่เกิดจากการที่คนย้ายถิ่นที่อยู่จากแห่งหนึ่งไปยังแห่งอื่น ๆ เขาเหล่านั้นมักนำวัฒนธรรมของพวกเขาติดตัว ไปด้วย เสมอ ถือได้ว่า เป็นการเผยแพร่ทางวัฒนธรรม เป็นไปได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง เช่น น้ำอัดลมชื่อต่าง ๆ มีอยู่ทั่วทุกมุมโลก วัฒนธรรมของสังคมอื่น ได้เผยแพร่เข้ามาในสังคมไทย



ความสำคัญของวัฒนธรรมไทย


-วัฒนธรรมทำให้เกิดความสามัคคีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สังคมที่มีวัฒนธรรมเดียวกันย่อมจะมีความรู้สึกผูกพันเดียวกัน




-วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดรูปแบบของสถาบัน เช่น รูปแบบของครอบครัว จะเห็นได้ว่าลักษณะของครอบครัวแต่ละสังคมต่างกันไป เนื่องจากวัฒนธรรมในสังคมเป็นตัวกำหนดรูปแบบ เช่น วัฒนธรรมไทยกำหนดเป็นแบบสามีภรรยาเดียว ในอีกสังคมหนึ่งกำหนดว่าชายอาจมีภรรยาได้หลายคน


-วัฒนธรรมเป็นเครื่องแสดงเอกลักษณ์ของชาติ คำว่า เอกลักษณ์ หมายถึง ลักษณะพิเศษหรือลักษณะเด่นของบุคคลหรือสังคม ที่แสดงว่าสังคมหนึ่งแตกต่างไปจากอีกสังคมหนึ่ง เช่น วัฒนธรรมการพบปะกันในสังคมไทย จะมีการยกมือไหว้กันแต่ในสังคมญี่ปุ่นใช้การคำนับกัน เป็นต้น

-วัฒนธรรมช่วยให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้า หากสังคมใดมีวัฒนธรรมที่ดีงามเหมาะสม เช่น ความมีระเบียบวินัย ขยัน ประหยัด อดทน การเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว  สังคมนั้นจะเจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว

-วัฒนธรรมเป็นเครื่องสร้างระเบียบแก่สังคมมนุษย์ วัฒนธรรมไทยเป็นเครื่องกำหนดพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมไทยให้มีระเบียบแบบแผนที่ชัดเจนรวมถึงบผลของการแสดงพฤติกรรมตลอดจนถึงการสร้างแบบแผนของความคิด ความเชื่อและค่านิยมของสมาชิกให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน




-วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือช่วยแก้ปัญหา และสนองความต้องการของมนุษย์

วัยรุ่นไทยในปัจจุบัน

         
วัยรุ่นไทยยังติดค่านิยมต่างประเทศเห็นได้จากการชมภาพยนต์เกาหลี การทำผมลอกเลียนแบบทรงจากเกาหลี ญี่ปุ่น การกินอาหาร การแต่งกาย




             

 ในนักเรียนนักศึกษามีการแข่งกันใช้ของแบรนด์เนม การมีทัศนคติและพฤติกรรมเบี่ยงเบนเหินห่างศาสนามีค่านิยมแบบบริโภคนิยมอย่างฟุ่มเฟือย การทะเลาะวิวาท ติดยาเสพติด การเสพสื่อลามกอนาจาร ติดเกม ฯลฯ


 ซึ่งปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและขาดความรู้ความเข้าใจในการคุมกำเนิดและป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มเด็กและเยาวชนไทยก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่มีแนวโน้มรุนแรงและหนักหน่วงจนน่าตกใจ ซึ่งปัจจัยหนึ่งมาจากการแพร่ระบาดของสื่อที่ไม่เหมาะสมหรือลามกอนาจารผ่านทางสื่อแต่ละประเภท จนทำให้เด็กและเยาวชนไทยซึ่งขาดภูมิคุ้มกันในการบริโภคสื่อ มีการเลียนแบบพฤติกรรมและนำไปใช้ในทางที่ไม่ควร







วัฒนธรรต่างชาติที่เข้ามามีบทบาทในประเทศไทย

วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
          การติดต่อกับชาวต่างชาติของคนไทยในยุคสมัยต่าง ๆ มีผลต่อสังคมไทยหลายด้าน  วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย  โดยวัฒนธรรมบางอย่างได้ถูกปรับใช้ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตและประเพณีดั้งเดิมของคนไทย  ขณะที่วัฒนธรรมบางอย่างรับมาใช้โดยตรง
          1.  วัฒนธรรมตะวันออกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
- ด้านอักษรศาสตร์  เช่น  ภาษาไทยที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยสุโขทัยได้รับอิทธิพลจากภาษาขอม
- ด้านกฎหมาย  มีการรับรากฐานกฎหมาย  มีการรับรากฐานกฎหมายอินเดีย  ได้แก่  คัมภีร์พระธรรมศาสตร์  โดยรับผ่านมาจากหัวเมืองมอญอีกต่อหนึ่ง  และกลายเป็นหลักของกฎหมายไทยสมัยอยุธยาและใช้มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
- ด้านศาสนา
- ด้านวรรณกรรม  เช่น ในสมัยอยุธยาได้รับวรรณกรรมเรื่องรามเกรียรติ์  มาจากเรื่องรามายณะของอินเดีย
-  ด้านศิลปวิทยาการ  เช่น    เชื่อกันว่าชาวสุโขทัยได้รับวิธีการทำเครื่องสังคโลกมาจากช่างชาวจีน  รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมเนื่องในพระพุทธศาสนาจากอินเดีย  ศรีลังกา
 -  ด้วยวิถีการดำเนินชีวิต  เช่น   คนไทยสมัยก่อนนิยมกินหมากพลู  รับวิธีการปรุงอาหารที่ใส่เครื่องแกง  เครื่องเทศจากอินเดีย  รับวิธีการปรุงอาหารแบบผัด  การใช้กะทะ  การใช้น้ำมันจากจีน
          2.  วัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
         
 - ด้านการทหาร  เป็นวัฒนธรรมตะวันตกแรก ๆ ที่คนไทยรับมาตั้งแต่อยุธยา  โดยซื้ออาวุธปืนมาใช้  มีการสร้างป้อมปราการตามแบบตะวันตก  เช่น  ป้อมวิไชยประสิทธิ์ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา  ออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส  ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการจ้างชาวอังกฤษเข้ามารับราชการเพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการทหาร  มีการตั้งโรงเรียนนายร้อย  การฝึกหัดทหารแบบตะวันตก
-  ด้านแนวคิดแบบตะวันตก  การศึกษาแบบตะวันตกทำให้แนวคิดทางการปกครอง  เช่น  ประชาธิปไตย  คอมมิวนิสต์  สาธารณรัฐแพร่เข้ามาในไทย  และมีความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
-  ด้านวิถีการดำเนินชีวิต  การรับวัฒนธรรมตะวันตกและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาใช้  ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยแบบเดิมเปลี่ยนแปลงไป  เช่น  การใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหารแทนการใช้มือ  การนั่งเก้าอี้แทนการนั่งพื้น

วัยรุ่นไทยได้รับอิทธิพลจากต่างชาติอย่างไรบ้าง




             
             ในปัจจุบันวัยรุ่นไทยส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวต่างชาติ เช่น วัฒนธรรมของชาวอังกฤษซึ่งจะเห็นได้ชัดจาการแต่งกาย ภาษาที่ใช้ในการพูด การเจาะตามร่างกายต่างๆและการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ซึ่งในสมัยก่อนพ่อแม่จะสอนให้ผู้หญิงเป็นแม่บ้านแม่เรือนรักนวลสงวนตัวแต่งตัวเรียบร้อยรัดกุมมิดชิด     ไม่เป็นที่ล่อตาล่อใจจากเพศตรงข้ามโดยไม่มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรจะมีการแต่งงานที่ถูกต้องตามประเพณีและรักเดียวใจเดียวและภาษาในการพูดจะพูดชัดเจนถูกหลักภาษาไทยอักขระถูกต้องและไม่มีการเจาะสิ่งต่างๆตามร่างกาย
             วัฒนธรรมไทยในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไป จากที่ผู้หญิงเคยแต่งตัวรัดกุมมิดชิดเป็นกุลสตรีไทยก็ได้แต่งตัวกันแบบนุ่งน้อยห่มน้อยซึ่งถือเป็นเรื่องปกติในปัจจุบัน การใช้ภาษาพูดในปัจจุบันจะใช้คำวิบัติพูดกันในหมู่วัยรุ่นซึ่งทำให้ภาษาไทยเสื่อมเสียได้ มีการเจาะสิ่งต่างๆตามร่างกายซึ่งถือเป็นการทรมานตนเอง และที่เป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบันคือการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรซึ่งถือเป็นเรื่องไม่สำคัญเป็นเรื่องเล็กน้อย เป็นการนำเอาวัฒนธรรมของชาวต่างชาติมาใช้ในทางที่ผิด

อิทธิพลของสื่อในปัจจุบัน

                  วัยรุ่นเป็นวัยที่เริ่มสนใจ ศึกษา​ ค้นคว้า​ ทดลองสิ่งใหม่​ และเป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ​ อารมณ์​ และการปรับตัวในสังคม วัยรุ่นสามารถซึมซับสิ่งต่างๆที่เห็นได้ในชีวิตจริงหรือได้สัมผัสจากคนใกล้ชิด​ จากครอบครัว ชุมชน​ สังคม​ โรงเรียน​ สิ่งแวดล้อมตลอดจนสื่อต่างๆ​ ดังนั้นวัยรุ่นจึงสามารถถูกชักจูงไปสู่ความรุนแรงและพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้ง่ายมาก​ สื่อที่วัยรุ่นนิยมมากคือ เทคโนโลยีสารสนเทศ​ สื่ออิเล็คทรอนิกส์ และโทรคมนาคม





 เพราะ​มีการเข้าถึงได้ง่าย ​ หากได้รับสื่อที่ไม่ดีก็อาจนำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้​ ยิ่งพบเห็นสื่อที่แสดงถึงความก้าวร้าวรุนแรง ใช้แต่อารมณ์ และมุ่งเอาชนะเป็นหลัก​ สภาพเช่นนี้จะเป็นตัวหล่อหลอมพฤติกรรมให้จดจำและกระทำตาม



ความหมายของวัฒนธรรม

                   วัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิตหรือการดำเนินชีวิตของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง  หมายรวมถึงความคิด  ศิลปะ วรรณคดี  ดนตรี  ปรัชญา  ศีลธรรม...